Pseudomonas aeruginosa เป็นเชื้อโรคฉวยโอกาสจะมีการติดเชื้อกับ ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำหรือป่วยมากๆ หรือผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล บางทีจึงเรียกโรคติดเชื้อที่เกิดจาก Pseudomonas aeruginosa ว่าโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล จากผู้ป่วยโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 2000 คนต่อปี จะมี จำนวน 10 % ที่มีสาเหตุมาจาก Pseudomonas aeruginosa ซึ่งPseudomonas aeruginosa เป็นสาเหตุอันดับสองในการทำให้เกิดโรคปอดบวมในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในการก่อให้เกิดโรคปอดบวม ในห้อง ICU โรคติดเชื้อจาก Pseudomonas สามารถแพร่กระจายภายในโรงพยาบาลโดยบุคลากร อุปกรณ์การแพทย์ ผิวหนัง น้ำยาฆ่าเชื้อ และอาหาร โรคติดเชื้อนี้เป็นปัญหาที่รุนแรงมากในโรงพยาบาลมากเนื่อง
จาก ผู้ป่วยซึ่งมีอาการหนักอยู่แล้วจะเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อจาก Pseudomonas และ Pseudomonas ดื้อต่อยาปฏิชีวนะมาก ทำให้ยากต่อการรักษา
Pseudomonas aeruginosa สามารถติดเชื้อได้หลายระบบในร่างกายเนื่องจากมีหลายปัจจัยในการก่อให้เกิดเช่น ความสามารถในการเกาะยึดติดกับเยื่อบุผิว ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ สร้างโปรตีนที่มาทำลายเนื้อเยื่อ และมี protective outer coat
Pseudomonas aeruginosa สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในหลายส่วนของร่างกาย
- หัวใจและกระแสเลือด Pseudomonas aeruginosa เป็นสาเหตุอันดับ 4 ในการก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดการติดเชื้อในกระแสเลือดจะเกิดกับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดและผู้ที่ติดเชื้อ ในบริเวณอื่นของร่างกาย Pseudomonas aeruginosa จะมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจในผู้ติดยาที่ฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ หรือผู้ที่ใช้ลิ้นหัวใจเทียม
- ระบบประสาทส่วนกลาง Pseudomonas aeruginosa จะทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บ จากการผ่าตัด จากการแพร่กระจายจากส่วนของของร่างกาย หรือจากการติดเชื้อในกระแสเลือด
- ทางเดินปัสสาวะ ติดได้จากการใช้เครื่องทางการแพทย์หรือการผ่าตัด
- ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน คนสุขภาพดีก็สามารถติดเชื้อได้ จากการอาบน้ำหรือเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ hot tubs ที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ซึ่งโรคติดเชื้อ Pseudomonas ที่ผิวหนังนี้มักจะเกิดการสับสนกับโรคอีสุกอีใสและจะเกิดอาการรุนแรงได้กับผู้ที่เชื้อในกระแสเลือดร่วมด้วย Pseudomonas aeruginosa เป็นสาเหตุอันดับสองในการก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในบาดแผลไฟไหม้ในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
เนื่องจาก Pseudomonas aeruginosa ดื้อต่อยา ปฏิชีวนะ ดังนั้นในการรักษาจึงนิยมให้ยาปฏิชีวนะสองตัวร่วมกัน โรคติดเชื้อจากPseudomonas มักรักษาโดยการให้ยาร่วมกัน เช่นยาceftazidine,ciprofloxacinimipenem,gentamicin,tobramycin,ticarcillin-clavulonateหรือ piperacillin-tazobactam ให้โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือรับประทาน เป็นเวลา 2- 6 สัปดาห์ ถ้าเป็นการรักษาตาควรจะต้องใช้ยาหยอดตา
หรือใช้การผ่าตัด ซึ่งบางครั้งจำเป็นที่จะต้องตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อและถูกทำลายออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่สมองอักเสบ , ติดเชื้อที่ตา ,กระดูกและข้อต่อ,หู,หัวใจหรือบาดแผล
แต่อย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อจาก Pseudomonas aeruginosa ก็มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง โดยเฉพาะจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่ปอด อัตราการเสียชีวิตมีช่วงที่กว้าง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หูจะมีอัตราการเสียชีวิต 15 – 20 % จนถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หัวใจห้องซ้ายซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 89 %
Credit : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=narusaru&month=24-08-2005&group=5&gblog=2
http://www.asm.org
http://anka.livstek.lth.se:2080/P-aeruginosa.htm
http://www.pseudomonas.com/p_aerug.html
http://www.chclibrary.org/micromed/00062430.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น